สารบัญ

เมื่อปัจจุบันทางภาครัฐได้ปลดล็อคกัญชาให้สามารถใช้งานได้แล้ว ไม่ว่าจะประชาชนหรือผู้ประกอบการ เพียงแต่ยังคงต้องอยู่บนพื้นฐานการใช้งานที่ต้องมีสาร THC ที่ไม่เกินไปกว่า 0.2% ทว่ากัญชาออกฤทธิ์ต่อร่างกายอย่างไร มีข้อควรระวังอะไรที่ต้องทำความเข้าใจบ้าง? นี่ยังคงเป็นคำถามที่หลายคนต้องการคำตอบไม่น้อย จึงไม่พลาดรวบรวมมาให้ศึกษาอย่างเจาะลึก

ไขข้อสงสัยที่ 1 : กัญชาออกฤทธิ์ต่อร่างกายอย่างไร?

สำหรับข้อสงสัยแรกที่หลายคนต้องการคำตอบ “กัญชาออกฤทธิ์ต่อร่างกายอย่างไร?” แน่นอนว่าผลจากการใช้กัญชาออกฤทธิ์ต่อร่างกาย ถ้าจะเอ่ยถึงประโยชน์ทางการแพทย์ก็มีหลากหลาย รวมถึงมีตัวอย่างให้ได้ศึกษาเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นตัวช่วยบรรเทาอาการปวด หรือบรรเทาอาการที่เกิดจากระบบประสาท และสมองซึ่งยังไม่มียาตัวไหนในปัจจุบันที่ออกฤทธิ์ช่วยรักษา หรือชะลออาการได้ดีเท่า

ระบบการออกฤทธิ์ของกัญชาที่มีต่อร่างกาย หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Endocannabinoid system ประกอบด้วยตัวรับสารกัญชา Cannabinoid receptor ที่มีด้วยกันหลัก ๆ 2 ประเภท คือ

  1. CB1 ที่จะพบอบู่ในระบบสมอง รวมถึงระบบไขสันหลังส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวพันธ์กับอวัยวะอื่น ๆ ภายในร่างกายได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเส้นเลือด ปอด ทางเดินอาหาร กล้ามเนื้อ ไขมัน และอวัยวะเพศ
  2. CB2 ที่จะพบได้ภายในระบบสมองที่เซลล์เกลีย (Glial Cell) ทำงานร่วมกับเซลล์ระบบประสาท โดยที่จะช่วยต้านอาการอักเสบภายในร่างกายทุกอวัยวะได้อย่างดี

อย่างไรก็ตาม อวัยวะภายในร่างกายของเรายังมีส่วนที่กลไกการออกฤทธิ์รับสารประกอบในกัญชาทั้ง CB1 และ CB2 ได้อย่างดี และแตกต่างกันออกไป ทั้งระบบภูมิคุ้มกัน ก้านสมอง ไขกระดูก ตับ และตับอ่อน โดยมีผลการศึกษาออกมาพบว่าตัวรับทั้ง CB1 และ CB2 ดักจับค่าสาร THC ได้อย่างดี โดยจะไปออกฤทธิ์ต่อสมองส่วน rewarding pathway เกิดอาการมึนเมาและเสพติดในที่สุด

โดยที่สารอีกตัวอย่าง CBD ไม่ได้ดักจับ พร้อมยังลดการส่งสัญญาณ CB1 ทำให้สมองสั่งการปล่อยสารกดระบบไฟฟ้าของสมองที่ชื่อ GABA ช่วยลดอาการปวดต่าง ๆ ลดความกระวนกระวาย ควบคุมอาการชักไม่ให้กำเริบ

ตามหลักเภสัชจลนศาสตร์อธิบายถึงกัญชาออกฤทธิ์ต่อร่างกายอย่างไรไว้ว่า จะมีการกระจายตัวของสารในร่างกายทั้ง THC และ CBD อย่างสารแคนนาบินอยด์ โดยที่จะออกฤทธิ์แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการรับยา และระยะเวลาในการรักษา ขนาดยา รูปแบบยา และการใช้ยาต่ออวัยวะต่าง ๆ เช่น ลำไส้ ปอด ปาด หรือผิวหนัง ยกตัวอย่างผลการทดสอบ

  1. กลืนสารแคนนาบินอยด์ชนิดแคปซูลลำไส้ได้รับการดูดซึม และจะออกฤทธิ์ต่อระบบสมองที่แสดงผลได้ช้าลง 30 – 90 นาที และออกฤทธิ์สูงสุดหลังจากกินไปแล้ว 2 – 3 ชม. โดยที่ 4 – 12 ชม. จะยังคงมีฤทธิ์อยู่ ซึ่งถือว่าอยู่ยาวเหมือนกัน
  2. ดูดซึมสารแคนนาบินอยด์ผ่านการสูดไอระเหยเข้าทางระบบทางเดินหายใจ ความเข้มข้นของสารต่อเลือดมีอยู่สูงสุดไม่กี่นาที และจะออกฤทธิ์ต่อระบบสมองไม่กี่วินาทีเช่นกัน ทั้งนี้ ยังมีการออกฤทธิ์สูงสุดหลังสูดดมไอระเหยผ่านไป 15 – 30 นาที และภายใน 2 – 3 ชม. จะหมดฤทธิ์ยาทันที

ไขข้อสงสัยที่ 2 : มีข้อควรระวังการใช้กัญชาอะไรบ้าง?

ด้วยความที่ปัจจุบันการเข้าถึงกัญชาเป็นไปได้ง่ายมากขึ้นแล้ว และเมื่อรู้ถึงข้อมูลกัญชาออกฤทธิ์ต่อร่างกายอย่างไรแล้ว การที่รู้ข้อควรระวังในการใช้เพิ่มเติมโดยเฉพาะใครที่จะใช้งานด้วยตนเอง ไม่ได้มีแพทย์สั่งก็ต้องรู้ไว้ด้วยเช่นกัน

  1. หากจะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา ควรเลือกจากความน่าเชื่อถือ ไว้ใจได้ แนะนำว่าต้องมีการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์มาแล้ว มีการตรวจสอบเชื้อโรค การปนเปื้อน และมีการยืนยันถึงระดับสารได้ตรงกับฉลากที่ระบุข้อมูลไว้
  2. การสูบกัญชาที่เป็นการเผาไหม้ ล้วนสร้างความระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจอย่างมาก หากเกิดอาการให้รีบหยุดใช้งาน เพราะตัวกัญชามีสารปนเปื้อน และสารละลายอยู่สูงส่งผลต่อร่างกายในระยะยาว
  3. ส่วนใครที่อยากทดลองสูบ ไม่แนะนำให้สูบแบบดูดดื่มมาก และไม่ควรกลั้น – อัดให้อยู่แต่ในช่วงปอด เพราะปริมาณสาร THC และสารระคายเคืองต่าง ๆ จะรับเข้าสู่ร่างกายได้สูงเกินไป
  4. ผู้ที่มีปัญหาโรคหลอดเลือด โรคหัวใจ โรคทางจิตเวช โรคปอด โรคทางระบบประสาท หรือผู้มีโรคประจำตัวอื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อสุขภาพทั้งระยะสั้น และระยะยาว
  5. ใครที่ไม่เคยใช้กัญชามาก่อน อยากแนะนำว่าให้เริ่มจากปริมาณสาร THC ที่น้อย ๆ ไปก่อน เพราะไม่อย่างนั้นหากเริ่มต้นด้วยปริมาณมากไปเลย หรือเข้มข้นสูงไปเลย อาจจะเกิดอาการใจสั่น หายใจไม่ทัน หัวใจเต้นผิดจังหวะจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
  6. การสูบควรอยู่ในพื้นที่ของตัวเอง สูบแต่ในบ้านเท่านั้น เพราะควัน หรือกลิ่นที่ออกมาอาจไปกระทบต่อระบบทางเดินหายใจของคนรอบข้างได้ และปัจจุบันก็ไม่อนุญาตให้สูบในพื้นที่สาธารณะ

สรุป

กัญชาออกฤทธิ์ต่อร่างกายอย่างไร และมีข้อควรระวังการใช้กัญชาอะไรบ้างจะไม่เป็นความสงสัยอีกต่อไป เมื่อได้ศึกษาข้อมูลเหล่านี้แล้ว หวังว่าการใช้งานด้วยตนเองจะควบคุมอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ทั้งนี้ หากใครที่ปลูกเองในฐานะประชาชนทั่วไป หรือฐานะผู้ประกอบการ อยากให้ลงทะเบียนแจ้งข้อมูลกับทางแอปพลิเคชัน “ปลูกกัญ” ของทางกระทรวงสาธารณสุขด้วย และหากใช้ในทางที่ผิดทั้งทางพฤติกรรม หรือการขายที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่น มีโทษที่ต้องรับผิดชอบด้วย