สารบัญ
เป็นความสงสัยที่อยากรู้คำตอบอย่างมาก เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ระหว่างกัญชากับกัญชงเหมือนกันหรือไม่ ก่อนใช้งานควรรู้เรื่องอะไรบ้าง? ว่าแล้วก็มาร่วมไขความกระจ่างไปกันได้เลย เพราะไปสืบเสาะรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาให้ศึกษาอย่างลึกซึ้ง รับรองหลังจากนี้ถึงจะคล้ายแค่ไหนก็แยกออก
ความแตกต่างของกัญชากับกัญชง ที่คุณต้องแยกให้ออก
1. พืชตระกูลเดียวกันแต่ไม่ใช่สายพันธุ์เดียวกัน
ต้องบอกก่อนเลยว่ากัญชากับกัญชงนั้นเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกัน คือ Cannabis และอยู่ในวงศ์ Cannabaceae โดยกัญชาจะถูกเรียกว่า Marijuana และกัญชงจะถูกเรียกว่า Hemp แต่ถึงจะอยู่ในตระกูล หรือวงศ์เดียวกันก็ตาม ทั้งคู่แตกต่างกันทางสายพันธุ์ ลักษณะที่คล้ายกันจึงมีคุณสมบัติทั้งด้านลักษณะทางกายภาพ ปริมาณสารสกัด หรือประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป
2. เจาะลึกลักษณะที่แตกต่างของกัญชา – กัญชง
- ชื่อทางวิทาศาสตร์ : กัญชา มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L.subsp. indica ส่วนกัญชงมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L.subsp. sativa
- ลักษณะของใบ : กัญชาจะเป็นในหนา และมีความกว้างมากกว่า การออกใบจะเรียงชิดกัน และมีแฉกที่ 5 – 7 แฉก ส่วนกัญชงจะมีลักษณะเป็นใบเรียว การเรียงตัวจะห่างมากกว่ากัญชา ทั้งยังมีแฉกที่ 7 – 11 แฉก
- สีของใบ : กัญชาจะมีสีเขียวเข้ม ส่วนกัญชงจะมีสีเขียวอ่อน
- กิ่งก้าน : หากเป็นกิ่งก้านของกัญชา ก็จะแตกได้มากกว่า ในขณะที่กิ่งก้านของกัญชงจะแตกน้อยกว่า
- ลำต้น : ในส่วนของลำต้นกัญชานั้นจะเตี้ย เป็นพุ่มที่มีความสูงไม่เกิน 2 เมตร ส่วนกัญชงจะมีลำต้นที่สูงเรียวชนิดที่มากกว่า 2 เมตรขึ้นไปอีก
- เมล็ด : กัญชากับกัญชงนั้นจะมีเมล็ดแตกต่าง หากเป็นกัญชาแล้วจะขนาดเมล็ดเล็ก ผิวมีความมันวาว ส่วนกัญชงนั้นจะมีเมล็ดใหญ่ ผิวเรียบ บางเมล็ดก็มีลาย
- เส้นใย : ในส่วนของกัญชานั้นจะมีเส้นใยที่คุณภาพต่ำ ส่วนกัญชงนั้นเส้นใยจะมีปริมาณมาก ทำให้คุณภาพสูงกว่ากัญชา
- ปริมาณสาร THC และ CBD : กรณีที่เป็นกัญชานั้นสาร THC จะเกิน 1% และมีสาร CBD ไม่เกิน 2% ส่วนกัญชงนั้นจะมีค่าสาร THC ไม่เกิน 1% และสาร CBD เกินกว่า 2%
โดยสาร THC เป็นสารที่จะออกฤทธิ์ต่อรับบประสาท และสมอง การควบคุมอารมณ์ ความจำ ความรู้สึกที่จะช่วยให้ผ่อนคลายมากขึ้น ลดอาการคลื่นไส้ การอยากอาหาร เคลิบเคลิ้มมีความสุข อารมณ์ดี ส่วนสาร CBD เป็นสารที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท และสมอง แต่จะช่วยให้อาการปวด อาการอักเสบลดลงอย่างง่ายดาย นอกจากนี้ ยังช่วยลดความกังวลให้มีน้อยลง รวมถึงลดอาการเกร็งชักที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
3. ประโยชน์ที่แยกได้ของกัญชา – กัญชง
ในส่วนของประโยชน์ที่นำมาใช้งานสำหรับกัญชากับกัญชงแล้วนั้น จะแบ่งออกเป็นความสามารถของกัญชาที่ส่วนใหญ่นิยมนำมาสกัดเป็นยาใช้รักษาโรคโดยเน้นไปที่ช่องทางทางการแพทย์เท่านั้น ส่วนกัญชงนั้น สามารถนำไปใช้แปรรูปเป็นกระดาษ งานสิ่งทอ เสื้อผ้าต่าง ๆ
นอกจากนี้ เมล็ดกัญชงยังสามารถนำมาสกัดเป็นส่วนประกอบในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง และอาหารด้วย เพราะมีทั้งโอเมก้า 3 โอเมก้า 6 โอเมก้า 9 วิตามินอี รวมถึงสาร alpha, gamma-linolenic acid และ linoleic acid
4. ข้อกำหนดในการใช้กัญชง – กัญชาทางการแพทย์
- การใช้กัญชงในอุตสาหกรรมอาหาร และอื่น ๆ กำหนดการใช้งานเมล็ดที่ต้องอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม ซึ่งต้องมีข้อมูลระบุตรงกับฉลากที่แปะอยู่บนบรรจุภัณฑ์
- การใช้กัญชงในเครื่องสำอาง จะมีการกำหนดปริมาณการใช้น้ำมันที่สกัดมาจากเมล็ดภายในเครื่องสำอางได้ แต่ต้องมีการบอกถึงเงื่อนไข และปริมาณการใช้งานนั้น ๆ อย่างชัดเจน เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทุกประเภท เว้นแต่ที่อยู่ในรูปแบบของ Soft gelatin capsules เช่น ผลิตภัณฑ์ช่วยดูแลความสะอาดจุดซ่อนเร้น หรือผลิตภัณฑ์ในช่องปาก มีส่วนผสมจะต้องมีในปริมาณที่เหมาะสม คือค่า THC ต้องไม่เกินกว่า 0.2%
- การใช้กัญชาในภาคอุตสาหกรรมอาหาร ที่สามารถนำมาใส่ในอาหารได้ ปริมาณเหมาะสมเมื่อทานเข้าไปแล้วจะเกิดผลอันตรายต่อร่างกายน้อยที่สุด
กัญชากับกัญชง เป็นสารเสพติดหรือไม่
จริง ๆ แล้วตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 กัญชา และกัญชงถูกจัดอยู่ในกลุ่มพืชที่เป็นยาเสพติดประเภท 5 โดยที่มีสาร THC สูงเกินความจำเป็นในการนำไปใช้ แต่กระนั้นปัจจุบันทั้งกัญชากับกัญชงได้ถูกปลดล็อคออกจากพืชที่เป็นสารเสพติดเรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ตามมีการจำกัดการใช้งานอยู่ โดยที่ต้องมีสารสกัด THC ที่ไม่เกิน 0.2% และหากเกินก็จะถูกดำเนินคดีทันที ทั้งนี้ก็ยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ ของกัญชง และกัญชาที่ถือป็นสารเสพติดประเภท 5 อยู่ ไม่ว่าจะเป็น ช่อดอกกัญชา ช่อดอกกัญชง หรือเมล็ดของกัญชา
สรุป
กัญชากับกัญชงนั้นแม้จะเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกัน วงศ์เดียวกัน แต่แท้จริงก็ไม่ได้เป็นพืชที่เหมือนกัน ด้วยความแตกต่างเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะพืชพรรณ หน้าที่ในการควบคุมปริมาณดูแล ประโยชน์ รวมถึงความเข้าใจถึงกลุ่มสารเสพติด เพื่อนำไปสู่การใช้งานที่เลือกได้อย่างเหมาะสม ตอบโจทย์ เพื่อให้ร่างกายได้รับการบำรุงดูแลรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าเกิดอันตรายจนถึงขั้นส่งโรงพยาบาล